เคล็ดวิชา

  • News,  เคล็ดวิชา

    มวยไชยา กับการจรดมวยย่อต่ำ

    มวยไชยา กับการจรดมวยย่อต่ำ การจรดมวยย่อแบบไชยา… นั้นมีเหตุผลมากมาย เต็มไปด้วยหลักการทางวิชาการของศาสตร์ในหลายแขนงของไทย เช่น การแพทย์แผนโบราณ ว่าด้วยเส้น ว่าด้วยเอ็น กระดูก กล้ามเนื้อ เลือด ลม ฯลฯ ยกตัวอย่างเช่น การย่อเป็นการเก็บลูกสะบ้าเข่าให้ล็อกอยู่ในเบ้า ไม่ถึงพิการหากคู่ต่อสู้รู้วิธีทำ กล้ามขาเบ่งเกร็งเองเพื่อปิดเส้นสันตฆาตและปัตฆาต ป้องกันอัมพาตชั่วคราวหากถูกเตะพับนอกและพับใน มุมเข่าหน้าพลิกเข้าปิดจุดอ่อนด้านในแล้วล่อด้านนอกซึ่งแข็งกว่า น้ำหนักอยู่บนปลายเท้าทั้งสองโดยไม่ต้องยกส้นเท้าต้องสัมผัสรู้ พร้อมถ่ายแรงโยกโล้ไปทุกทิศตามกล  ศอกหน้าตลอดแขนปิดหลุมหัวใจ ไหปาร้า ขมับ ตา แสกหน้า ตลอดจนเชิงกระหม่อม ศอกและแขนหลังปิดชายโครงอ่อน ตับ ไหปาร้า และกระเดือก อันเป็นจุดมรณะทุกจุด อันนี้เป็นเพียงภายนอกพอคร่าวๆ ซึ่งยังไม่พูดถึงภายใน การจรดมวยแบบนี้เมื่อเอาดาบมาใส่มือครูท่านเรียกว่า “มวยต่อมือ” ถ้าใส่ไม้ศอกก็เป็นโล่ห์ , ดั้ง , เขน ส่วนหอก , ง้าว , เสน่า , หน้าไม้ , เครื่องยิง เหล่านี้ไม่ต้องพูดถึง ลงตัวอย่างยิ่ง จึงอาจกล่าวได้ว่าการจรดมวยไชยาเป็นผลมาจากการตกผลึกโดยแท้จากศึกสงคราม ผู้ไม่เรียนดาบหรือเรียนอาวุธไทโบราณ จะรู้จะเข้าใจเพียงว่านี้คือการจรดแบบมวยไชยา หารู้ถึงกลที่ซ่อนแฝงไม่ การที่ครูแปรงได้ฝึกอาวุธโบราณอยู่บ้าง ยิ่งฝึกลึกๆเข้า ทำให้ยิ่งเห็นความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งพิสดาร จึงทำให้มีย่อมากกว่าหนึ่งวิธี และมีการนั่งอีกหลายแบบ ซึ่งมีผลยิ่งเกี่ยวกับจริตในการคิด ในการแตกลูกไม้เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันล่อแหลมฉับพลันทันทีทันใดและเพื่อความปลอดภัย หลักการสลายแรง , ตัดแรง , ชิงแรง , ชิงคม , กลยุทธ , กลศึก ฯลฯ จากวิชาอาวุธและศาสตร์อื่นๆ จึงรวมเบ็ดเสร็จในคราวเดียวโดยไม่ต้องแบ่งแยก บางครั้งใช้ออกอาวุธดัง “มือเป็นมีด” “แขนเป็นดาบ” “ตีนเป็นหอก” “แข้งเป็นง้าว” แม้กระทั่งการปาด เฉือน จิ้ม ทิ่มแทง ฯลฯ เช่นกัน ผู้เป็นครูมวยจึงมีความสำคัญในการสร้างวิถีมวยในสายของตนให้เป็นอย่างไร และมีอัตลักษณ์แบบไหน มนุษย์เป็นสัตว์ฉลาดที่สุด ย่อมคิดวิธีต่อสู้ได้มากมายและใช้ทุกอย่างในกายและจิตที่ตนคิดค้นตามปัญญา แม้ขนาดเข้าฌานตีความกันก็ยังมี การเป็นครู ต้องมีความสามารถในการรู้คิด รู้วิธีสู้ได้ทุกสถานการณ์ เช่น ไม่ว่าในพื้นที่ๆใช้ต่อสู้นั้นจะมีความแข็งหรือนุ่มอย่างไร จะลื่นหรือไม่ลื่น อาจจะมีวิธีทำให้ลื่นหรือให้ล้มได้ตลอดเวลา ยิ่งที่แข็งยิ่งล้มง่ายและล้มเจ็บอย่างยิ่ง ลองคิดมุมกลับกัน ที่อ่อนนุ่มไม่จำเป็นต้องกลัวล้มเพราะล้มไม่เจ็บ จรดมวยสูงๆก็ย่อมไม่เป็นไร อีกอย่างการล้มมีมากวิธีแม้การพุ่งล้ม ถูกจับโยนให้ล้มยิ่งน่ากลัว จึงไม่จำต้องกล่าวเรื่องย่อแล้วล้มไม่เจ็บอีก เพราะทางเรามีล้มทุกมิติ ยืน…

  • News,  เคล็ดวิชา

    ศาสตร์แห่งมวยไชยา

    ศาสตร์แห่งมวยไชยา มวยไชยา… มิใช่เป็นเพียงมวยใต้ที่ก่อกำเนิดจากเมืองไชยา แท้จริงมวยไชยานั้นเป็นมวยในกองทนายเลือกของวังหลวง เป็นกองมวยรักษาพระองค์หน่วยที่สำคัญที่สุดใกล้ชิดองค์พระประมุขกว่าทหารหรือตำรวจเหล่าอื่นใด ประมาณช่วงรัชกาลที่ ๓ จึงได้ไปสู่เมืองไชยา เป็นสิ่งสูงสุดแล้วที่ได้ไป สูงสุดในทุกมิติทั้งมือเปล่าและอาวุธ หมายถึงเมื่อพระมหากษัตริย์ออกรบ หน่วยนี้ก็ต้องติดตามใกล้ชิดที่สุด เป็นทั้งหน้าช้าง เป็นทั้งรักษาพระองค์ เป็นทั้งจตุรงคบาท และอีกหลายๆชั้นหลายๆวง เป็นรัศมีรอบทิศ สภาพการรบรุกตลุมบอนแบบโบราณย่อมสั่งสมเคี่ยวกรำวิชาแห่งชีวิตนี้มาอย่างเอกอุ ในทุกมิติ ทุกสถานการณ์ ทุกสภาพภูมิประเทศ ทุกๆจำนวนศัตรูที่รุมล้อมรุมรบ ไทยมิเคยมีกำลังมากกว่าผู้รุกราน จะใหญ่จะเล็กไม่มีโอกาสหลบลี้หลีกหนี ศักดิ์ศรีแห่งทนายเลือกที่เป็นมวยหลวง ปรมาจารย์เขตร และครูทอง ท่านแรงมากในเรื่องนี้ ครูแปรงเองก็ได้รับอิทธิพลให้รู้สึกหยิ่งในศักดิ์ศรีแห่งสายวิชาของตนมิให้ปนกับวิชาใด (มิได้หมายถึงหยิ่งยโส) ทั้งนี้เพื่อส่งต่ออย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์นั่นเอง เรื่องเคล็ดวิชา หลักวิชา มีครบมาแต่เดิม ไม่ว่าจะเป็น “เหยาะ ย่าง ยัก เยื้อง” , “ป้อง ปัด ปิด เปิด” , “ล้ม ลุก คลุก คลาน” , “ทุ่ม ทับ จับ หัก” ฯลฯ ซึ่งมีครบทุกเคล็ดอย่างสมบูรณ์อยู่แล้วก่อนลงใต้ ทุกเคล็ดวิชามีเคล็ดซ้อนเคล็ดมากมาย เนื่องเพราะมวยไชยาเป็นศาสตร์ การคุมมวยแบบไชยาเป็นแม่บทปฐมหลักอันสำคัญที่บูรพาจารย์ท่านกำหนดด้วยปัญญาอันลุ่มลึกแหลมคมแล้วว่า ดีเลิศที่สุดเท่าที่มนุษย์พึงมี เพราะได้รับยกย่องว่ามวยไชยาเป็นมวยที่จรดมวยรัดกุมที่สุดในประเทศ เท่าที่เคยมีมาตั้งแต่อดีตจวบปัจจุบัน (เป็นคำกล่าวของปราชญ์ในอดีต) อนาคตมวยต่างๆ โดยเฉพาะมวยที่มีมิติการเข้าทุ่ม จรดมวยแบบไชยา ก็มีให้เห็นกันบ้างแล้ว ด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้โลกได้รู้จักกันมากขึ้น ลักษณะมวยไชยา เป็นการรับด้วยมุมแหลมของอวัยวุธที่มาจากการจรดมวย ทุกมุมและทุกมิติของท่าคุมมวยไชยา จะเต็มไปด้วยเหลี่ยมด้วยมุมรอบตัวคอยส่ายรับการจู่โจม เป็นเส้นสายลวดลายของวิชา จึงมีเอกลักษณ์และอัตลักษ์ในการจรดมวยอย่างที่เห็น อีกทั้งยังส่งเสริมการใช้เคล็ดหลักวิชาที่มีทั้งหมดให้สอดประสานร่วมกันจนเป็นหนึ่งเดียวดั่งสายน้ำ “ตีได้ตี” “จับได้ให้จับ” “ทุ่มได้ให้ทุ่ม” “หักได้ให้หัก” ฯลฯ แล้วแต่สถานการณ์นั้นๆ (ท่าเสือลากหาง)  ในวิชาโบราณแขนงอื่นๆ ซึ่งมีหลักปรัชญาความคิดในแบบโบราณ ก็พบว่ามีวิธีคิดและหลักการที่คล้ายคลึงกัน เช่น การย่อต่ำที่พบในมวยไชยา ทางด้านเมืองเหนือ มีมวยเหนือและดาบเหนือซึ่งมีท่าที่ย่อต่ำมากๆเช่นกัน มวยโคราช มวยลพบุรี เท่าที่ทราบขณะเข้ามวยบางครั้งก็ย่อต่ำเช่นกัน เพียงแต่อาจจะไม่ใช้เป็นท่าหลักในการจรดมวยเท่านั้นเอง ครูแปรง / ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ * คัดลอกจากบทความที่ครูแปรงเคยเขียนขึ้น เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓